เจ้าชายนะรุฮิโตะ มกุฎราชกุมาร (ญี่ปุ่น: ??????? โคไตชิ นะรุฮิโตะ ชินโน ?) หรืออดีต เจ้าฮิโระ ประสูติ ณ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ทรงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยกะคุชูอิน และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ทรงสนพระทัยในเรื่องของประวัติศาสตร์และดนตรี และยังโปรดปรานการสีวิโอลาอีกด้วย พระองค์ทรงอภิเษกกับมะซะโกะ โอะวะดะ ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในสาขาเศรษฐศาสตร์ และทางด้านการทูตที่กระทรวงการต่างประเทศ
ครั้นแรกประสูติ เจ้าชายนะรุฮิโตะ ได้ดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าฮิโระ (ญี่ปุ่น: ?? ฮิโระ-โนะ-มิยะ ?) และได้ดำรงพระอิสริยยศนั้นมาจนถึงปี พ.ศ. 2534 จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร เป็นเวลาสองปีภายหลังจากการเสด็จสวรรคตของ สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ พระราชอัยกาของพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2532
พระองค์สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยกะกุชุอิง ในสายประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2525 และ พ.ศ. 2531 ตามลำดับ แต่ในปี พ.ศ. 2526-2528 ทรงไปศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักร ในวิทยาลัยเมอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
พระองค์โปรดการเล่นวิโอลา รวมไปถึงการวิ่งจ๊อกกิ้ง การไต่เขา และการปีนเขาในยามว่าง นอกจากนี้พระองค์ได้เขียนหนังสือ The Thames and I: A Memoir of Two Years at Oxford ซึ่งเป็นบันทึกประจำวันขณะที่พระองค์ประทับศึกษาอยู่ในอ๊อกซฟอร์ด
เจ้าชายนะรุฮิโตะ ได้ดำเนินการเพื่ออภิเษกสมรส กับสตรีวัย 29 ปี ชาวญี่ปุ่น นามว่า มะซะโกะ โอะวะดะ เธอเป็นนักการทูตในกระทรวงการต่างประเทศ ที่เดียวกับที่ทำงานของบิดาเธอ คือ ฮิซะชิ โอะวะดะ ที่ปัจจุบันเป็นตุลาการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และเป็นอดีตรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงอดีตทูตญี่ปุ่นประจำสหประชาชาติ โดยที่สำนักพระราชวังหลวงโตเกียว ได้ประกาศถึงการหมั้นหมายของทั้งสอง ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2536
พิธีอภิเษกสมรสถูกจัดขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2536 ที่หอชินโตของพระราชวังหลวงโตเกียว มีแขกผู้ได้รับเชิญราว 800 คน ซึ่งรวมถึงพระราชวงศ์จากราชวงศ์ในยุโรปจำนวนมาก และมีการถ่ายทอดสดไปยังผู้ชมราว 500 ล้านคนทั่วโลก ทั้งสองได้เลือกพำนักที่วังโทงู ในเขตมินะโตะ โตเกียว
ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เจ้าชายนะรุฮิโตะทรงพยายามให้สาธารณชนเข้าใจถึงพระชายาของพระองค์ ที่กำลังประสบกับภาวะความเครียดและซึมเศร้า ซึ่งถูกวินิจฉัยว่าเป็นภาวะการปรับตัวผิดปกติ ตรัสว่า "ผมอยากจะให้ทุกคนเข้าใจว่า มะซะโกะเธอจะยังคงดำเนินตามความพยายามสูงสุดของเธอต่อไปด้วยกำลังใจจากผู้คนรอบข้าง โปรดเฝ้ามองเธอต่อไปด้วยความเห็นใจ" ทั้งนี้การประชวรของพระชายา ถูกมองว่าอาจมาจากการทรงถูกกดดันให้มีราชโอรสเป็นว่าที่องค์รัชทายาท เพราะตามโบราณราชประเพณีและกฎมณเฑียรบาลแล้วสตรีไม่สามารถขึ้นครองราชย์
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/เจ้าชายนะรุฮิโตะ_มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น